ศูนย์การเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพเเละความยั่งยืน ชีวพนาเวศ (Toyota Biodiversity and Sustainability Learning Center)

ประกอบด้วย 3 ส่วน สำคัญ ได้แก่

ชมภาพพิธีเปิด
 

ส่วนประกอบโครงการ

ป่านิเวศ

ป่านิเวศ (Eco Forest) คือป่าดั้งเดิมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ก่อนสภาพป่าจะถูกทำลาย ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่านิเวศเป็นต้นไม้สายพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของพื้นที่นั้น ๆ ซึ่งการปลูกป่านิเวศตามหลักการของ ศ.ดร.อาคิระ มิยาวากิ จะทำให้ต้นไม้มีอัตราการรอดตายสูง (มากกว่า 90%) และร่นระยะเวลาการสืบพันธ์ตามธรรมชาติให้เร็วขึ้น 10 เท่า และสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้มากกว่าการปลูกป่าโดยทั่วไป

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ หลักการฟื้นฟูป่าธรรมชาติดั้งเดิม

  • พันธุ์ไม้ที่ปลูกจะต้องเป็นชนิดพันธุ์ไม้ดั้งเดิม (Native Species) หัวใจสำคัญของการพื้นฟูคือ การใช้พันธุ์ไม้ดั้งเดิมที่เคยเติบโตอยู่ในพื้นที่ มาทำการปลูกซึ่งพันธุ์ไม้ดั้งเดิมนั้นจะมีความแข็งแรงและทนทาน
  • ใช้กล้าไม้ที่เพาะจากเมล็ด (Potted Seedlings) ซึ่งจะทำให้มีระบบรากที่แข็งแรง (ความสูงเฉลี่ยประมาณ 80-100 เซนติเมตร)
  • การเตรียมดินและเนินดิน (Mound) เป็นการปรับพื้นที่โดยการเพิ่มพื้นที่หน้าดิน, เพิ่มความสามารถของพื้นที่ในการระบายน้ำฝนและเพิ่มการระบายอากาศของดิน เพื่อให้กล้าไม้เติบโตได้อย่างแข็งแรง
  • ความหนาแน่นในการปลูก ควรมีระยะห่างของการปลูก 3-4 ต้น ต่อตารางเมตร และปลูกพันธุ์ไม้หลาย ๆ ชนิดปะปนกันโดยปลูกแบบสุ่ม (Random) ไม่เป็นแถวไม่เป็นแนวแบบธรรมชาติ เพื่อให้กล้าไม้แข่งกันเจริญเติบโต ต้นไม้ที่มีศักยภาพตามธรรมชาติ (Potential Natural Vegetation) จะอยู่รอดและพัฒนาเป็นต้นไม้ในป่าที่สมบูรณ์
  • การนำกล้าไม้ชุบน้ำก่อนปลูกและคลุมด้วยฟางหลังปลูก เพื่อเป็นการเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับดินและรากของกล้าไม้ ซึ่งเพิ่มอัตราการรอดให้กับกล้าไม้ และสามารถอยู่รอดได้ถึง 1-2 เดือน โดยไม่ต้องรดน้ำ
 

แหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ/ แหล่งอาศัยของสิ่งมีชีวิต (Biotope)

ปรัชญาการสร้างไบโอโทป (Biotope)

ไบโอโทป (Biotope) เป็นการสร้างถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต โดยมนุษย์เป็นผู้สร้างเลียนแบบธรรมชาติ โดยมีปรัชญาในการสร้างดังต่อไปนี้

การสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ โตโยต้าไบโอโทปแสดงให้เห็นถึงสังคมพืชแบบต่าง ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นตามปรัชญา “จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที” โดยป่าธรรมชาติก่อให้เกิดฝนโดยเฉพาะพื้นที่ต้นน้ำบนภูเขาสูง ผ่านพื้นที่กลางน้ำและไหลลงสู่ทะเลโดยมีไบโอโทปสังคมพื้นที่โดดเด่นดังต่อไปนี้

  • 1. ไบโอโทปสังคมพืชป่าดิบ
  • 2. ไบโอโทปสังคมพืชป่าเบญจพรรณ
  • 3. ไบโอโทปสังคมพืชพื้นที่ชุ่มน้ำ

นอกจากนี้ยังได้บูรณาการแนวคิดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

  • 1. ตลิ่งสิ่งมีชีวิต
  • 2. การใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า
    • 2.1 การทำอิฐทางเดินจากตะกอนดินที่แยกมาจากน้ำดิบ ซึ่งนำมาผลิตน้ำประปา
    • 2.2 การนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วกลับมาใช้ใหม่

โดยมีศาลาการเรียนรู้ ดังนี้

  • ศาลาพลังความหลากหลายทางชีวภาพเรียนรู้เรื่องที่มาของการให้ความสำคัญของการสร้างความหลากหลายทางชีวภาพที่เกิดขึ้นในชีวพนาเวศ
  • ศาลาพลังชุมชนรู้จักความเป็นมาของชุมชนเราชาวฉะเชิงเทราให้มากขึ้น พร้อมกับความภาคภูมิใจของชาวโตโยต้าที่ได้มีส่วนร่วมกับชุมชน ให้มีชีวิตที่ดี เช่น การจัดตั้งโรงสีข้าวรัชมงคล เป็นต้น
  • ศาลาพลังธรรมชาติ เรียนรู้พลังของธรรมชาติที่เอื้อประโยชน์ต่อมนุษย์ ทดลองทำสวนขวดจากวัสดุรีไซเคิล
  • ศาลาพลังความรู้ป่านิเวศ ศ.ดร.อาคิระ มิยาวากิทำความรู้จัก “ผู้เป็นต้นกำเนิดความรู้” และเทคนิคการปลูกป่าโดยใช้เนินดิน (Mound) ที่ทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วสมบูรณ์ ก่อเกิดเป็นป่านิเวศที่เป็นแหล่งอาศัยและหากินของสัตว์นานาชนิด
  • บึงไบโอโทปบึงน้ำขนาดกลางที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ไม่ว่าจะเป็นพืชน้ำและสัตว์น้ำต่าง ๆ พร้อมกับเรียนรู้ระบบนิเวศแหล่งน้ำ
  • บ้านหนูเรืองบ้านหิ่งห้อยจำลองที่มีการเพาะเลี้ยงหิ่งห้อยจริง เพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้วงจรชีวิตของหิ่งห้อย
  • ถ้ำแมลงเรียนรู้วงจรชีวิตบ้านของปลวก ที่ทำให้เราเห็นระบบนิเวศใต้ดิน และเรียนรู้เสียงของแมลงชนิดต่างๆ

อาคารชีวพนาเวศนิทรรศการต้นไม้แห่งชีวิต (Cheewa Panavet Building)

นิทรรศการภายในอาคาร ใช้ต้นโพธิ์เป็นสัญลักษณ์ เชื่อมโยงจากความสำคัญของต้นไม้ที่มีรากแก้ว ซึ่งเป็นต้นไม้ที่เติบโตมาจากการเพาะเมล็ด ต้นไม้ที่มีรากแก้วเท่านั้นที่จะสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อม สู่ความสำคัญของวิสัยทัศน์ของโตโยต้าที่ทำอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยนิทรรศการแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

ห้องแสดงนิทรรศการเทิดพระเกียรติ

พื้นที่เทิดพระเกียรติและจัดแสดงพระราชกรณียกิจที่เกี่ยวข้องกับป่า น้ำ และดิน ของทั้งสามพระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผ่านจอและเกม Interactive

ระบบนิเวศบนดิน

รู้จักสัตว์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใน “ชีวพนาเวศ” พื้นที่ โตโยต้าไบโอโทป

ระบบนิเวศใต้ดิน

สัมผัสความหลากหลายทางชีวภาพผ่านภาพยนตร์ระบบนิเวศใต้ดิน รู้จักระบบนิเวศใต้ดินผ่านนิทรรศการและเกม Interactive

อาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม