Line ID
นโยบายและการจัดการ
นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
มุ่งมั่นเป็นพลเมือง ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยจะยืดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
1
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด จะปฏิบัติตามกฏหมาย และมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมภายในบริษัท พร้อมทั้งมีความมุ่งมั่นที่จะบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายทางด้านสิ่งแวดล้อมที่วางไว้
2
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด จะทุ่มเทปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการทำงานของระบบสิ่งแวดล้อม และการป้องกัน มลพิษซึ่งบรรลุได้โดย
3
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด มีความพยายามที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อพนักงานทุกคน เพื่อให้การปฏิบัติ และการบริหารงานด้านสิ่งแวดล้อมบังเกิดผลมากที่สุด
4
ตระหนักถึงความสำคัญของการสื่อสารกับชุมชนในท้องถิ่นและให้ความร่วมมือที่ดีในกิจกรรมการรักษาสิ่งแวดล้อม
นโยบายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด (บริษัท) จะประกอบธุรกิจควบคู่ไปกับการดำเนินการและพัฒนาระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง โดยจะพยายามป้องกันการเกิดอุบัติการณ์ อุบัติเหตุการบาดเจ็บ และการเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานด้วยความร่วมมืออย่างจริงจังของพนักงานทุกคน เพื่อดำเนินการตามนโยบายที่กล่าวมานี้ บริษัทจะ
1
ดำเนินการและพัฒนาระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามมาตรฐาน ISO45001 อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับข้อกำหนดของกฎหมายและข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้รวมถึงมาตรฐานเพิ่มเติมที่องค์กรนำมาใช้ในกรณีที่กฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องไม่ได้ระบุไว้
2
ดำเนินการกำจัดอันตรายและลดความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย รวมทั้งจัดเตรียมสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีสุขอนามัยที่ดีและปลอดภัย เพื่อป้องกันการบาดเจ็บและเจ็บป่วยต่อสุขภาพจากการทำงานที่เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของความเสี่ยงและโอกาสด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย โดยกำหนดเป็นวัตถุประสงค์และเป้าหมายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยประจำปี พร้อมสื่อสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนนำไปปฏิบัติ
3
ให้การสนับสนุนทรัพยากรทั้งในเรื่องบุคลากร เวลา งบประมาณ และการฝึกอบรมที่เหมาะสมและเพียงพอ
4
ทำการทบทวนและประเมินผลการดำเนินงานตามความเหมาะสมเพื่อทราบความก้าวหน้า และเพื่อให้แน่ใจว่าสอดคล้องตามนโยบายเกี่ยวกับความปลอดภัยนี้
5
บริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยให้เหมาะสมกับกลยุทธ์ที่สนับสนุนวิสัยทัศน์ของบริษัท
6
จัดให้มีการให้คำปรึกษา เพื่อช่วยเหลือให้มีการปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย และให้เกิดการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกระดับ รวมทั้งผู้รับเหมา และผู้ที่เข้ามาปฏิบัติงานในบริษัท โดยเน้นย้ำว่าการปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัยเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของทุกคน ทั้งนี้ รวมถึงสนับสนุนพฤติกรรมความปลอดภัยนอกงาน
ด้านสิ่งแวดล้อม
ระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด มีการดำเนินการและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากโรงงานประกอบรถยนต์โตโยต้าสำโรงและโตโยต้าเกตเวย์ โดยทั้ง 2 โรงงาน ได้รับการรับรองระบบการจัดการ ด้านสิ่งแวดล้อม ISO 14001: 1996 ในระดับสากลตั้งแต่ปี 2540 ในโรงงานเกตเวย์และในปี 2541 สำหรับโรงงานสำโรง จากนั้นได้มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
จนได้รับการรับรองระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ฉบับใหม่ ISO 14001: 2004 ในปี 2548 ส่วนโรงงานประกอบ รถยนต์โตโยต้าบ้านโพธิ์นั้นได้รับการรับรองระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมฉบับใหม่ ISO 14001: 2004 ในปี 2551
โรงงานประกอบ | มาตรฐานการจัดการ | ปีที่ได้รับการรับรอง |
---|---|---|
เกตเวย์ | ISO 14001 : 1996 ISO 14001 : 2004 |
1997 (พ.ศ. 2540) 2005 (พ.ศ. 2548) |
สำโรง | ISO 14001 : 1996 ISO 14001 : 2004 |
1998 (พ.ศ. 2541) 2005 (พ.ศ. 2548) |
บ้านโพธิ์ | ISO 14001 : 2004 | 2008 (พ.ศ. 2551) |
ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
โรงงานประกอบ | มาตรฐานการจัดการ | ปีที่ได้รับการรับรอง |
---|---|---|
เกตเวย์ | ISO 14001 : 1996 1997 (พ.ศ. 2540) |
1997 (พ.ศ. 2540) 2005 (พ.ศ. 2548) |
สำโรง | ISO 14001 : 1996 ISO 14001 : 2004 |
1998 (พ.ศ. 2541) 2005 (พ.ศ. 2548) |
บ้านโพธิ์ | ISO 14001 : 2004 | 2008 (พ.ศ. 2551) |
โตโยต้าใส่ใจทุกขั้นตอนการผลิต
ก่อนการผลิต
โตโยต้าเลือกใช้วัตถุดิบและสารเคมีต่างๆ ในการผลิตที่ไม่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม โดยมีข้อกำหนดการใช้ที่เป็นรูปธรรมดังนี้
1
สารที่ห้ามใช้และสารเคมีควบคุมปริมาณการใช้งาน ได้แก่ วัตถุดิบหรือสารเคมีที่มีส่วนประกอบของโลหะหนัก จำนวน 4 ชนิด คือ ตะกั่ว ปรอท แคดเมี่ยม สารเคมี จำนวน 512 ชนิด
2
ระบบตรวจสอบชิ้นส่วนอะไหล่ต่างๆ จากผู้ผลิตชิ้นส่วน
3
ตรวจสอบโลหะ โดยใช้เครื่องเอกซเรย์โลหะที่ทันสมัย
การผลิต
ขั้นตอนการผลิตของรถโตโยต้า ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลัก โดยในแต่ละขั้นตอน จะติดตั้งระบบและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ทันสมัย เพื่อลดมลพิษ และของเสียในด้านต่างๆ ของการผลิต อาทิ มลพิษในอากาศ เสียงดัง น้ำเสีย เป็นต้น รวมถึงการจัดการของเสีย ทั้งของเหลว และของแข็งอย่างเป็นระบบ
1
การปั้มขึ้นรูป
การปั้มขึ้นรถชิ้นส่วนต่างๆ ของตัวถังรถ (AO Line) ประกอบด้วยขั้นตอนการปั้มขึ้นรูป ตัดขอบ เจาะรู พับขอบ ปัจจุบันโตโยต้า ใช้ระบบอัตโนมัติ ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ที่มีความเที่ยงตรง แม่นยำ
มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม
ระบบควบคุมเสียง2
การเชื่อมตัวถัง
การเชื่อมตัวถัง จะเริ่มการจากเชื่อมชิ้นงานย่อยโดยพนักงาน หลังจากนั้นจึงใช้หุ่นยนต์ เชื่อมส่วนประกอบหลัก เพื่อความแม่นยำและได้มาตรฐานสูงสุด รวมทั้งลดการใช้พลังงานและมลพิษด้วย
มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม
ระบบควบคุมฝุ่นและไอระเหย3
การพ่นสี
กระบวนการพ่นสี เริ่มจากการล้างคราบน้ำมัน และสิ่งสกปรกบนพื้นผิวตัวถัง จากนั้นจะนำไปชุบสีเคลือบพื้นสนิม ด้วยประจุไฟฟ้า ระบบ Cation E.D.P. แล้วจึงเข้าสู่กระบวนการอุดตะเข็บเพื่อป้องกันการรั่วซึม พ่นสีรองพื้น และพ่นสีจริง
มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม
ระบบจัดการอากาศเสียโตโยต้าให้ความสำคัญ กับระบบบำบัดน้ำเสียเป็นอย่างมาก โดยได้ลงทุนติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียที่ทันสมัยที่สุด มูลค่ากว่า 100 ล้านบาท โดยน้ำเสียจากการผลิตและการใช้เพื่ออุปโภคบริโภคภายในโรงงานทั้งหมด จะถูกนำเข้าบำบัดทั้งระบบเคมีและชีวภาพ โดยน้ำที่บำบัดแล้วจะถูกนำมาหมุนเวียนใช้ใหม่ภายในโรงงานเพื่อ
4
ก่อนการประกอบ
การจัดการชิ้นส่วน และอะไหล่ อย่างเป็นระบบ โดยการจัดหมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบ และสะดวกในการนำไปประกอบต่อไป
มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม
5
การประกอบ
การประกอบห้องเครื่อง ระบบช่วงล่าง และภายในห้องโดยสาร โดยตัวถังที่พ่นสีแล้ว จะถูกยกเคลื่อนมาตามสายพาน เพื่อประกอบเข้ากับระบบช่วงล่าง ประกอบเครื่องยนต์ และติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ภายในห้องโดยสาร
มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม
ระบบจัดการของเสียโตโยต้า ได้ติดตั้งเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ขึ้นที่บริเวณโรงงานสำโรง เพื่อจุดประสงค์ในการประหยัดพลังงานโดยนำไฟฟ้าที่ได้ไปใช้ในห้องประชุมด้วย
การขนส่ง
ระบบการขนส่งรถที่ผลิตเสร็จจากโรงงาน สู่ผู้แทนจำหน่ายจะใช้รถเทรลเลอร์ขนาดใหญ่ ที่สามารถบรรทุกได้ครั้งละมากๆ รวมถึงระบบการจัดการเส้นทาางและการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ช่วยลดจำนวนเที่ยว ทำให้ประหยัดน้ำมัน และลดควันเสีย
การใช้งาน
โตโยต้าได้วางแผนการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับโชว์รูมและศูนย์บริการ โดยกำหนดมาตรการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ โดยขอความร่วมมือกับบรรดาผู้แทนจำหน่ายกว่า 270 แห่งทั่วประเทศ เพื่อทำการปรับปรุงการดำเนินงานในแต่ละศูนย์บริการให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด
คู่มือสำหรับตัวแทนจำหน่ายโตโยต้าได้กำหนดหลักเกณฑ์ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับโชว์รูมและศูนย์บริการอย่างละเอียด ครอบคลุมในทุกขั้นตอนเริ่มจาก ภูมิสถาปัตย์ การจัดสรรพื้นที่ที่เหมาะสม การสัญจร ขนาดมาตรฐานของศูนย์บริการ รวมถึงการตกแต่งและการใช้สี นอกจากนี้ยังกำหนดวิธีการปฏิบัติ เพื่อให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
คู่มือบริหารศูนย์บริการและอะไหล่ยอดเยี่ยม (TEDAS)คือแผนงานจัดการที่โตโยต้าจัดทำขึ้นเพื่อให้ศูนย์บริการดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางและมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ โดยในหมวดที่เกี่ยวกับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม โตโยต้าได้กำหนดข้อบังคับ วิธีการปฏิบัติ รวมถึงการประเมินผลอย่างครบถ้วน โตโยต้ามั่นใจว่าด้วยระบบ และกฏเกณฑ์ที่วางไว้อย่างเคร่งครัด จะนำมาซึ่งการปฎิบัติอย่างจริงจัง อันจะส่งผลดีต่อสภาพแวดล้อมทั้งในปัจจุบัน และอนาคต
การรับรองคุณภาพ ISO-14001ปัจจุบันมีศูนย์บริการโตโยต้า ที่ได้ปรับปรุงและดำนินงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ จนได้รับการรับรองมาตราฐาน ISO-14001 แล้วจำนวน 98 แห่ง และโตโยต้า ได้ตั้งเป้าหมายว่าจะดำเนินการให้ครบทุกแห่งทั่วประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2549
การจัดการสิ่งแวดล้อมภายในศูนย์บริการ
1
มาตรการด้านน้ำเสีย
น้ำเสียจากการล้างรถ และชำระล้างชิ้นส่วนต่างๆ รวมถึงการอุปโภคบริโภค จะได้รับการบำบัดอย่างถูกต้องก่อนปล่อยสู่สาธารณะ
2
มารตรการลดมลพิษในอากาศ
ฝุ่นละอองและไอระเหย จะถูกควบคุมเพื่อลดมลพิษทางอากาศให้น้อยที่สุด และถูกต้องตามกฏหมาย
3
มาตรการกำจัดของเสีย (ของเหลวและของแข็ง)
4
มาตรการด้านเสียง
การกำจัด
หนึ่งในมาตรการ ที่โตโยต้าให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก คือการรีไซเคิล (Recycle) หรือการนำวัสดุต่างๆ ในตัวรถยนต์กลับมาใช้งานใหม่อีกครั้ง โดยเฉพาะในขั้นตอนการใช้งาน และขั้นตอนสุดท้ายคือ สิ้นสุดอายุการใช้งานของรถยนต์
1
ขั้นตอนการใช้งาน
การรวบรวมชิ้นส่วนกันชนรถจากตัวแทนจำหน่าย และนำมาเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลใหม่ เพื่อผลิตเป็นกันชน แผงกันกระแทกใต้ห้องเครื่อง และแผงบุที่เก็บสัมภาระท้ายรถ เป็นต้น
2
ขั้นตอนสิ้นสุดการใช้งาน (ของเสีย)
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น ได้พัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิล สำหรับรถยนต์และในชิ้นส่วนที่ใช้งานแล้ว จนทำให้สามารถผลิตรถยนต์ที่มีวัสดุรีไซเคิลเป็นส่วนประกอบได้มากกว่าร้อยละ 85* ของน้ำหนักรถ และมีแนวโน้มว่าจะใช้วัสดุรีไซเคิลเป็นส่วนประกอบในการผลิต ได้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อลดปริมาณของเสียที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
*เฉพาะรถยนต์โตโยต้าที่ผลิตจาก บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น