ผลการดำเนินงาน โครงการโตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ ระยะที่ 2 กลุ่มข้าวแตนสมุนไพรสายทิพย์ จังหวัดขอนแก่น

กลุ่มแม่บ้านโคกสว่างก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2541 จากแนวคิดนางสายทิพย์ ลามา ประธานกลุ่ม ได้มีการ ชักชวนญาติๆ 4 คน ทดลองทำข้าวแตนตามสูตรที่ตนคิดค้นขึ้นเอง โดยทำเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมส่งขาย ตามร้านค้าภายในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียงซึ่งยังไม่มีชื่อและยี่ห้อ ต่อมาได้มีการพัฒนารูปแบบการ ปั้นมาเรื่อยๆ และได้นำภูมิปัญญาชาวบ้านนำกระพังโหม มาใส่ในข้าวแตนทำให้ข้าวพองตัว กรอบ แก้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด ขับลม ขับปัสสาวะรักษาแผลในลำไส้ได้พัฒนาจนมีรสชาติเฉพาะตัว ถูกปาก เป็นที่นิยมของผู้บริโภค ปีี 2543ได้เป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรด้านการแปรรูป ข้าว มีผู้คนสนใจศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเนรียนรู้มากขึ้น

กลุ่มข้าวแตนสมุนไพรสายทิพย์ เข้าร่วมโครงการในปี พ.ศ.2558 โดยปัญหาที่พบคือ พบความสูญเสียจากวัตถุดิบเหลือทิ้งจากกระบวนการปั้น เกิดแผ่นข้าวแตกหักจาก กระบวนการตากข้าว กระบวนการทอด กระบวนการโรยน้ำตาล และกระบวนการแพ็ค สินค้านอกจากนี้ยังพบความสูญเสีบที่เกิดจากการไม่มีมาตรฐานในการทำงานแบบขึ้น รูปข้าวแต๋นมีขนาดไม่สม่ำเสมอ

โตโยต้าจึงได้สอนให้ทำการไคเซ็นเพื่อนแก้ปัญหาการทำงานในแต่ละกระบวนการ เริ่ม จากการสร้างมาตรฐานการทำงาน มาตรฐานอุปกรณ์ ทำให้เกิดการใช้วัตถุดิบได้อย่าง เต็มประสิทธิภาพสินค้าเป็นมาตรฐานเดียวกันศีกษาและปรับการเคลื่อนไหว ที่เป็นจุด เกิดความสูญเสียจากการทำงาน ลดสินค้าเสียหายระหว่างกระบวนการได้เกือบทั้งหมด ช่วยให้ธุรกิจสามารถลดต้นทุนในกระบวนการไปได้กว่า 50,000 บาทต่อเดือน ทำให้ มีกำไรเพิ่มขึ้นปีละมากกว่า 1 ล้านบาท

ผลการ ดำเนินงาน

แผนการปรับปรุงธุรกิจด้วยตนเอง

  • 1. ลดเวลาในการตาก โดยปรับปรุงเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์
  • 2. ปรับปรุงกระบวนการผลิต
  • 3. ปรับปรุงแผนผังการผลิตและโครงสร้างภายในโรงงาน