Toyota

Menu

กิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม

หลักการการผลิต ด้วยความรับผิดชอบ

หลักการการผลิตด้วยความรับผิดชอบ

นอกจากการสร้างสรรค์นวัตกรรมยานยนต์แล้ว โตโยต้าได้นำเอาเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมหลากหลายรูปแบบมาใช้ในโรงงานประกอบรถยนต์ทุกแห่ง โดยเฉพาะในโรงงานโตโยต้าบ้านโพธิ์ ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจของโตโยต้าในฐานะ 1 ใน 5 โรงงานต้นแบบของ “โรงงานแห่งความยั่งยืน” ที่ได้รับการยอมรับอย่างสูงในระดับสากล โดยทุกกระบวนการผลิตของโรงงานโตโยต้าบ้านโพธิ์ จะมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาใช้ โดยแบ่งการจัดการออกเป็น 4 ด้าน ดังต่อไปนี้

  • การจัดการด้านการอนุรักษ์พลังงาน

    มีการนำเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมที่มีประสิทธิภาพสูงเข้ามาใช้งาน โดยใช้พลังงานก๊าซธรรมชาติแทนพลังงานไฟฟ้า รวมไปถึงการติดตั้งเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับใช้ภายในสถานที่ทำงาน ซึ่งถือได้ว่าเป็นแผงเซลล์ พลังงานแสงอาทิตย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของบริษัทในเครือโตโยต้าทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีการติดตั้งเซอร์โวมอเตอร์ เพื่อลดการใช้พลังงานในการขึ้นรถตัวถัง และเซอร์โวโรบอทเพื่อลดการใช้พลังงานในการเชื่อมตัวถัง พร้อมทั้งช่วยลดเสียงสะเก็ดไฟและควันที่เกิดขึ้น ระหว่างการเชื่อมอีกด้วย

  • การจัดการมลภาวะทางอากาศ

    โตโยต้าถือเป็นบริษัทรถยนต์แห่งแรกในประเทศไทย ที่นำ "ระบบการใช้สีที่มีน้ำเป็นตัวทำละลาย" ซึ่งเป็นเทคโนโลยีพ่นสีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาใช้ นอกจากนี้ยังมีการใช้หุ่นยนต์ซึ่งควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ที่มีความแม่นยำสูงในการพ่นสี รวมไปถึงการติดตั้งเตาเผาแบบหมุนเวียนพลังงานความร้อน เพื่อลดปริมาณสารระเหยไฮโดรคาร์บอนและมลภาวะที่ปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม

  • การจัดการมลภาวะทางน้ำ

    ใช้กระบวนการบำบัดน้ำใช้แล้วให้มีคุณภาพ โดยใช้กระบวนการบำบัดทางเคมีและชีวภาพ รวมถึงมีการติดตั้งระบบรีไซเคิลนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วกลับมาใช้ในการผลิตและอุปโภคภายในโรงงานอีกด้วย

  • การจัดการมลภาวะด้านขยะ

    ปัจจุบันโตโยต้าสามารถนำขยะไปรีไซเคิลได้กว่า 80% และยังมีนโยบายยกเลิกการฝังกลบขยะ (Zero Landfill) โดยมีการติดตั้งเครื่องรีดน้ำจากกากตะกอนของระบบบำบัดน้ำทิ้ง และจัดทำโรงตากตะกอนที่มีการใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์เพื่อลดปริมาณกากตะกอนต่างๆ ให้เหลือน้อยที่สุดอีกด้วย

นอกเหนือไปจากการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการสร้างโรงงานโตโยต้าบ้านโพธิ์แล้วนั้น ทางโรงงานฯ ยังคงมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันได้มีการนำแนวความคิด KARAKURI เข้ามาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อเป็นโครงการต้นแบบในการลดการใช้พลังงาน

“Karakuri” เป็นภาษาญี่ปุ่น เขียนด้วยตัวคันจิมีรากศัพท์มากจากคำว่า เส้นด้าย ความหมายคือ การชักใยโดยเส้นด้ายโดยมีที่มาจากตุ๊กตาชง น้ำชา โดยใช้ กลไกง่ายๆ ในการทำให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อน

ตัวอย่าง

คือ ตุ๊กตา Karakuri ทำงานโดยเมื่อเราวางถ้วยน้ำชาลงบนถาด ตุ๊กตาจะเดินไป เสริฟน้ำชาแก่แขกโดยไม่ใช้ไฟฟ้าเลย ลักษณะเด่นของ Karakuri คือ

  • 1) ใช้เทคนิคกลไกอย่างง่าย : หลีกเลี่ยงระบบควบคุมและโครงสร้างที่ซับซ้อน ใช้กลไกและหลักการทางฟิสิกส์ เช่น แรงโน้มถ่วง สปริง
  • 2) ใช้แหล่งพลังงานอย่างง่าย : จากธรรมชาติ คน หรือพลังงานส่วนเกินเพียงเล็กน้อยในการขับเคลื่อนกลไก
  • 3) ใช้ความคิดสร้างสรรค์และต้นทุนต่ำ

กลับสู่หน้าหลัก